เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น
สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ (หินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า แมกมา)บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลก ก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหิน
ประเภทของภูเขาไฟ
1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone)
· เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone
· รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ
· ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก
· ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง
2. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano)
· เกิดจากลาวาที่มีความเป็นเบส (Basic lava volcano) เพราะประกอบด้วยแร่เหล็กและแมกนีเซียม
· ลาวามีลักษณะเหลว ไหลได้เร็วและแข็งตัวช้า
· การระเบิดไม่รุนแรง จะมีเถ้าถ่านและเศษหินก้อนเล็ก และควันพ่นออกมาบริเวณปากปล่อง
3. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด (Ash and cinder cone) มีลักษณะเป็นกรวยสูงขึ้น ฐานแคบ เป็นภูเขาไฟที่มีการระเบิดรุนแรงที่สุด
4. แบบสลับชั้น (Composite cone)
- เป็นภูเขาที่มีรูปร่างสมมาตร (Symmetry)
- กรวยของภูเขาไฟมีหลายชั้น บางชั้นประกอบด้วยลาวา และเถ้าถ่านสลับกันไป
- ถ้ามีการระเบิดรุนแรงจะมีลาวาไหลออกมาจากด้านข้างของไหล่เขา
- เป็นภูเขาไฟที่มีปล่องขนาดใหญ่ และมีแอ่งปากปล่อง (Crater) ขนาดใหญ่ด้วย
ประโยชน์ของการเกิดภูเขาไฟ
1. แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น
2. เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล
3. ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ
4. เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน
โทษของการเกิดภูเขาไฟ
1. เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
2. การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
3. ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย
4. สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด
ภูเขาไฟในประเทศไทย
- ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง
- ภูพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
สถิติการเกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งสำคัญ
พ.ศ 622 ภูเขาไฟวิสเวียส – อีตาลี 16000 ผู้เสียชีวิต
พ.ศ 1712 ภูเขาไฟเอ็ตนา เกาะชิชิลี – อีตาลี 1500 ผู้เสียชีวิต
พ.ศ 2174 ภูเขาไฟวิสเวียส – อีตาลี 4000 ผู้เสียชีวิต
พ.ศ 2212 ภูเขาไฟเอ็ตนา เกาะชิชิลี – อีตาลี 20000 ผู้เสียชีวิต
พ.ศ 2313 ภูเขาไฟป่าปันคาบัง – อินโดนีเซีย 3000 ผู้เสียชีวิต
พ.ศ 2335 ภูเขาไฟอุนเซ็นดาเกะ – ญี่ปุ่น 10400 ผู้เสียชีวิต
พ.ศ 2358 ภูเขาไฟแทมโปโล – อินโดนีเซีย 12000 ผู้เสียชีวิต
การเตือนภัยแก่ประชาชน
1. ต้องมีการพยากรณ์การเกิดภูเขาไฟว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรและเกิดวันไหน
2. การพยากรณ์ควรเริ่มต้นจากการสังเกต
3. การประชาสัมพันธ์